หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

Patsiri.com เว็บเพื่อสุขภาพของคุณ Pinkherbal หน้าแรก

Patsiri.com เว็บเพื่อสุขภาพของคุณ Pinkherbal หน้าแรก

Probiotic เป็นยังไงและทดสอบเชื้อชนิดนี้ยังไง
โพสต์เมื่อ: 20:15 วันที่ 23 ก.ค. 2549 ชมแล้ว: 40,487 ตอบแล้ว: 27 วิชาการ >> คาเฟ่ >> ทั่วไป
อยากถามผู้รู้ทั้งหลายว่า เชื้อ Probiotic นี้มีลักษณะอย่างไรและมีลักษณะเด่นของมันคืออะไร แล้วจะทำการทดสอบเชื้อชนิดนี้ได้อย่างไรว่าเป็น Probiotic ชนิดไหน สุดท้ายนี้เราจะรู้ไงว่าเชื้อที่เราสนใจนั้นเป็นเชื้อ Probiotic ต้องมีขั้นตอนอย่างไรในการทดสอบปล. ขอบคุณที่ตอบคำถามข้าพเจ้า
Pingagent ร่วมแบ่งปัน1 ครั้ง - ดาว 152 ดวง - โหวตเพิ่มดาว
จำนวน 24 ความเห็น, หน้าที่ -1-
ความเห็นเพิ่มเติมที่ 1 3 ก.ย. 2549 (13:28) 2.1 โพรไบโอติก (Probiotic)คำว่า โพรไบโอติก ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในรายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของ Lilly และ Stillwell ในปี ค.ศ. 1965 เพื่อกล่าวถึงสารที่จุลินทรีย์ชนิดหนึ่งขับออกมา และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นการทำงานที่ตรงข้ามกับการทำงานของยาปฏิชีวนะ (antibiotic)ที่จะทำลายจุลินทรีย์เกือบทุกชนิด ในปี ค.ศ. 1974 Parker ได้ให้คำจำกัดความว่า โพรไบโอติก คือสิ่งมีชีวิตและสารเคมีที่มีผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ คำจำกัดความล่าสุด ซึ่งเสนอโดย Fuller ในปี พ.ศ. 2532 อธิบายคำว่า โพรไบโอติก คืออาหารเสริมซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต สามารถก่อประโยชน์ต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ โดยการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย จนในที่สุดปี ค.ศ. 1992 Havenaar และ Veid ได้ขยายคำจำกัดความของ โพรไบโอติกว่า จะต้องประกอบด้วย จุลินทรีย์ที่มีชีวิตซึ่งอาจมีเพียงชนิดเดียว หรือเป็นส่วนผสมของจุลินทรีย์หลายชนิด ที่สามารถไปปรับปรุงคุณสมบัติของจุลินทรีย์ดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของสัตว์นั้น โดยจุลิน ทรีย์เหล่านี้อาจอยู่ในรูปของเซลล์แห้งจากขบวนการระเหิดแห้ง (freeze-dried cells) หรืออยู่ในรูปผลิตภัณฑ์หมัก ซึ่งนอกจากไปส่งเสริมการเจริญเติบโตแล้ว ยังทำให้คนและสัตว์มีสุขภาพดีขึ้นด้วย และโพรไบโอติก ไม่ใช่จำกัดการใช้เฉพาะในทางเดินอาหารเท่านั้น ยังอาจไปมีผลต่อระบบอื่นๆ เช่น ทางเดินหายใจส่วนต้น หรือระบบปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์2.1.1 ชนิดของจุลินทรีย์โพรไบโอติก2.1.1.1 ลักษณะของเชื้อ Lactobacillus Lactobacilli เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ไม่สร้างสปอร์ มีลักษณะเป็นแท่งสั้นๆ เป็นพวก แฟคัลเตตีฟแอนแอโรบ เป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์และสัตว์ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ แยกได้จากทางเดินอาหาร ในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ยังพบบริเวณช่องคลอดอีกด้วย เจริญได้ในสภาวะกรด Lactobacilli สามารถใช้น้ำตาลซึ่งเป็นแหล่งคาร์บอนและผลิตกรดแลคติกได้มากกว่าร้อยละ 85 ในการหมักแบบโฮโมเฟอร์เมนเททีฟ หรือได้กรดแลคติกร้อยละ50 คาร์บอนไดออกไซด์ เอทานอล และกรดแอซีติก ในการหมักแบบเฮเทอโรเฟอร์เมนเททีฟ เจริญได้ที่พีเอช 4.0-4.5 อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญคือ 30-40 องศาเซลเซียสอย่างไรก็ตามไม่ใช่ทั้งหมดของ Lactobacillus ทุกสายพันธุ์ที่จะมีประสิทธิภาพในการต่อต้านจุลินทรีย์ก่อโรคในลำไส้ มีการทดลองใช้อาสาสมัครที่มีสุขภาพแข็งแรง 23 คน รับประทานผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกที่มี L. acidophilus และ L. bulgaricus แล้วลองให้ได้รับเชื้อ E. coli ชนิดที่สร้างเอ็นเทอโรท็อกซิน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทั้งในอัตราการเกิดโรค ระยะฟักตัวและระยะเวลาในการเกิดโรคเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมที่ไม่ได้รับโพรไบโอติก Saccharomyces boularddii ถูกนำมาใช้ในการทดลองเกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคท้องร่วงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ C . diffcile ใช้ผู้ป่วยจำนวนทั้งหมด 180 คน ในการทดลอง เป็นกลุ่มควบคุม 20 คน พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับโพรไบโอติกร้อยละ 9.5 มีอาการท้องเสีย เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่มีอาการร้อยละ 22 ดังนั้น การใช้โพรไบโอติกช่วยลดการเกิดอาการท้องร่วงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ C. difficile ถึงแม้ว่า S. boulardii จะไม่สามารถป้องกันเชื้อก่อโรคได้ก็ตาม2.1.1.2 ลักษณะของเชื้อ BifidobacteriaBifidobacteria เป็นแบคทีเรียแกรมบวก ไม่ต้องการอากาศอย่างแท้จริง มีรูปร่างเป็นแท่งคล้ายตัว Y และไม่ผลิตก๊าซ ถูกค้นพบครั้งแรกโดย Tissier ในปี ค.ศ. 1900 ซึ่งแยกได้จากอุจจาระของเด็กทารก และตั้งชื่อว่า Bacillus bifidus และจัดเข้าสู่จีนัส Bifidobacterium ในปี ค.ศ. 1920 (Orla-Jensen, 1924) คุณสมบัติที่สำคัญคือ สามารถหมักน้ำตาลเฮกโซสได้เป็นกรดแลคติกโดยผ่านวิถีฟอสโฟคีโตเลท (phosphoketolase pathway) เมื่ออยู่ในสภาวะไม่เหมาะสมต่อการเจริญก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์ให้มีกิ่งก้านมากมายในอาหารที่ขาด เบต้า-เมทิล-ดี-กลูโคซามีน (b-methyl-D-glucosamine) เซลล์ที่มีลักษณะเป็นสองส่วนเท่ากันจะเกิดรูปร่างที่แตกแขนงมากขึ้น (Glick และคณะ, 1960) และเมื่อมีการเติมกรดอะมิโนเพียงเล็กน้อยในอาหารเลี้ยงเชื้อ เซลล์ที่เป็นกิ่งก้านมากมายจะเปลี่ยนเป็นแท่งโค้ง bifidobacteria นี้ พบได้ในลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และช่องคลอด ผลิตวิตามินบี อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญคือ 37-41 องศาเซลเซียส พีเอชที่เหมาะสมคือ 5.5-7.0 ผลิตกรดแอซิติก กรดแลคติก ทำให้เพิ่มความเป็นกรดในลำไส้ การทดสอบคุณสมบัติการเป็นโพรไบโอติกในห้องปฏิบัติการ ความสามารถในการทนกรดเบส การทดสอบความสามารถในการทนกรดเบสทำได้โดย เลี้ยงเชื้อแบคทีเรียแลคติกในอาหารเหลว MRS ที่มีปริมาตร 6 มิลลิลิตร ปรับพีเอช ให้ได้เท่ากับ 3, 4, 5, 6 และ 8 ตามลำดับ ด้วย 1N HCl และ 1N NaOH ทำ 3 ซ้ำ บ่มเชื้อที่ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นตรวจดูการเจริญของเชื้อโดยการวัดค่าการดูดกลืนแสงด้วยเครื่องวัดการดูดกลืนแสง (spectrophotometer) ที่มีความยาวคลื่นแสง 580 นาโนเมตร (Toit และคณะ., 1998) ความสามารถในการทนเกลือน้ำดี การทดสอบความสามารถในการทนเกลือน้ำดีทำได้โดย นำเชื้อแบคทีเรียที่มีความสามารถทนกรดมา streak ลงบนอาหานแข็ง MRS ที่มีความเข้มข้นของเกลือน้ำดีร้อยละ 0.30 (w/v) oxgall (Difco) โดยการ streak plate ละ 4 เชื้อ ทำ 3 ซ้ำ บ่มไว้ที่ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง แล้วตรวจดูการเจริญของเชื้อบนผิวหน้าอาหาร (Toit และคณะ , 1998) ความสามารถในการเกาะติด การทดสอบความสามารถในเกาะติดทำได้โดย นำเชื้อแบคทีเรียแลคติกที่ทนเกลือน้ำดีมาเลี้ยงในอาหารเหลว MRS ปริมาตร 3 มิลลิลิตร จนมีอายุครบ 18 ชั่วโมง แยกเซลล์แบคทีเรียโดยเหวี่ยงด้วยความเร็ว 15,000 g เป็นเวลา 10 นาที จากนั้นเจือจางเชื้อด้วย Phosphate buffered saline (PBS) พีเอช 7.1 ในไมโครเพลท แล้วเติม pig erythrocyte suspension (SIGMA) ที่มีความเข้มข้นร้อยละ 2 ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้อง 1 ชั่วโมง สังเกตการเกาะกลุ่มด้วยตาเปล่า ทำ 3ซำความสามารถในการเจริญในสภาวะที่มี และไม่มีออกซิเจน การทดสอบความสามารถในการเจริญในสภาวะที่มี และไม่มีออกซิเจนทำได้โดย นำแบคทีเรียแลคติกที่มีความสามารถในการเกาะติดมาเลี้ยงในอาหารเหลว MRS ปริมาตร 3 มิลลิลิตร จนมีอายุครบ 18 ชั่วโมง ถ่ายเชื้อแบคทีเรียแลคติกลงในอาหารเหลว MRS เชื้อละ 6 หลอด แบ่งเชื้อเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 ใส่ใน anaerobic jar แล้วนำไปบ่มไว้ที่ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ชุดที่ 2 นำไปบ่มไว้ที่ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมงดูการเจริญของเชื้อโดยการวัดค่าการดูดกลืนแสงด้วยเครื่อง spectrophotometer ที่มีความยาวคลื่นแสง 580 นาโนเมตร และเปรียบเทียบความสามารถของเชื้อในการเจริญทั้งสองสภาวะ โดยวิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test ความสามารถในการย่อยโปรตีน ไขมัน และแป้ง การทดสอบการย่อยโปรตีน การทดสอบความสามารถในการย่อยโปรตีนทำได้โดย นำเชื้อแบคทีเรียแลคติกที่สามารถเจริญทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีออกซิเจนมาเลี้ยงในอาหารเหลว MRS จนมีอายุครบ 18 ชั่วโมง มา streak บนอาหารเลี้ยงเชื้อ Milk agar ทำ 3 ซ้ำ นำไปบ่มไว้ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48-72 ชั่วโมง ถ้ามีการย่อยโปรตีนจะเกิดวงใสรอบ ๆ โคโลนีของเชื้อ ( Michael และ Pelezar, 1995 )การทดสอบการย่อยไขมัน การทดสอบความสามารถในการย่อยไขมันทำได้โดย นำเชื้อแบคทีเรีย แลคติกที่สามารถเจริญทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีออกซิเจนมาเลี้ยงในอาหารเหลว MRS จนมีอายุ 18 ชั่วโมง มา streak บนอาหารเลี้ยงเชื้อที่เติม tributyrin ความเข้มข้นร้อยละ 1 ทำ 3 ซ้ำแล้วนำไปบ่มไว้ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48-72 ชั่วโมง ถ้ามีการใช้ไขมันจะเกิดวงใสรอบ ๆ โคโลนีของเชื้อ ( Michael และ Pelezar, 1995 )การทดสอบการย่อยแป้ง การทดสอบความสามารถในการย่อยแป้งทำได้โดย นำเชื้อแบคทีเรีย แลคติกที่สามารถเจริญทั้งในสภาวะที่มีและไม่มีออกซิเจนมาเลี้ยงในอาหารเหลว MRS จนมีอายุ 18 ชั่วโมง มา streak บนอาหารเลี้ยงเชื้อ Starch agar ทำ 3 ซ้ำนำไปบ่มไว้ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48-72 ชั่วโมง ทดสอบการย่อยแป้งโดยการหยดสารละลายไอโอดีนลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ถ้ามีการย่อยแป้งสีของอาหารเลี้ยงเชื้อจะไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน ( Michael และ Pelezar, 1995 )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น